วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ระบบต่างๆในร่างกาย



-ระบบหายใจ

                มนุษย์ทุกคนต้องหายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ การหายใจเข้า อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้
          1.จมูก (Nose)
จมูกส่วนนอกเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย
          2. หลอดคอ (Pharynx)
เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดคอ ซึ่งเป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาวประมาณ 5 " หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน โครงของหลอดคอประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นที่ใหญ่ทีสุด คือกระดูกธัยรอยด์ ที่เราเรียกว่า "ลูกกระเดือก" ในผู้ชายเห็นได้ชัดกว่าผู้หญิง
          3. หลอดเสียง (Larynx)
เป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 cm ในผู้ชาย และ 3.5 cm ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติยโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชาย
           4. หลอดลม (Trachea)
เป็นส่วนที่ต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก ลักษณะรูปร่างของหลอดลมเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น วางอยู่ทางด้านหลังของหลอดลม ช่องว่าง ระหว่างกระดูกอ่อนรูปตัว U ที่วางเรียงต่อกันมีเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเรียบมายึดติดกัน การที่หลอดลมมีกระดูกอ่อนจึงทำให้เปิดอยู่ตลอดเวลา ไม่มีโอกาสที่จะแฟบเข้าหากันได้โดยแรงดันจากภายนอก จึงรับประกันได้ว่าอากาศเข้าได้ตลอดเวลา หลอดลม ส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลังช่วงอกแตกแขนงออกเป็นหลอดลมแขนงใหญ่ (Bronchi) ข้างซ้ายและขวา เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กในปอดหรือที่เรียกว่า หลอดลมฝอย (Bronchiole) และไปสุดที่ถุงลม (Aveolus) ซึ่งเป็นการที่อากาศอยู่ ใกล้กับเลือดในปอดมากที่สุด จึงเป็นบริเวณแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน กับคาร์บอนไดออกไซด์

           5. ปอดมีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลัง ฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลม
ระหว่างปอด 2 ข้าง จะพบว่ามีหัวใจอยู่ ปอดข้างขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซ้ายมี 2 ก้อน
หน้าที่ของปอดคือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ

ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบผิวหนัง ระบบขับถ่าย

-ระบบไหลเวียนโลหิต
มีหน้าที่นำออกซิเจนจากปอดไปสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญอาหารทำให้เกิดพลังงาน คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์จะถูกนำออกนอกร่างกายโดยจะถูกลำเลียง

มายังปอดและส่งออกทางลมหายใจออก
ส่วนประกอบของระบบหายใจ ได้แก่ จมูก หลอดลม ปอด ส่วนประกอบทุกส่วนรวมเข้าด้วยกันเป็นระบบหายใจ จะสามารถแบ่งออกได้เป็นโครงสร้าง 2 ส่วน คือ
          1. ท่อทางเดินอากาศ มีหน้าที่หลักคือ เป็นทางเดินของอากาศจากภายนอกร่างกาย ซึ่งมี O2 สูง เข้าสู่ปอด และนำอากาศจากปอด ซึ่งมี CO2 สูงออกจากปอด การทำงานของส่วนนี้เริ่มจากจมูกสูดอากาศผ่านรูจมูกซึ่งมีขนและเมือกเป็นเครื่องกรองฝุ่นละอองในอากาศ จากนั้นอากาศที่กรองแล้วจะผ่านเข้าสู่โพรงจมูก ซึ่งภายในมีขนเล็กๆ
          2.   ปอด    มีหน้าที่ในการให้พื้นที่จำนวนมากสำหรับการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างอากาศ ใหม่ในถุงลมปอดกับเลือด ซึ่งส่วนสุดท้ายของปอดจะมีถุงเล็กๆ ซึ่งภายในมีเส้นเลือดฝอยไว้สำหรับแลกเปลี่ยน O2 จากลมหายใจเข้ากับ CO2 จากเลือดเสีย O2 จะแพร่เข้าสู่เส้นเลือดฝอย ในขณะที่ CO2 จะย้อนทางเป็นลมหายใจออก ผ่านขั้นปอด หลอดลม โพรงจมูกออกทางรูจมูก การแลกเปลี่ยนแก๊สจะดำเนินต่อไปได้นั้น ความดันย่อยของแก๊ส O2 ในถุงลมปอดจะต้องสูงกว่าความดันย่อยของแก๊ส O2 ในเลือด และความดันย่อยของแก๊ส CO2 ในถุงลมปอดจะต้องต่ำกว่าความดันย่อยของแก๊ส CO2 ในเลือดอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นอากาศใหม่ภายนอกจะต้องถูกนำเข้ามายังปอด และอากาศเสียจากปอดจะต้องถูกนำออกสู่ภายนอก เป็นระยะๆตลอดเวลา ทั้งนี้ก็ด้วยการทำงานของกล้ามเนื้อทรวงอกและกระบังลม ในการทำให้ปริมาตรทรวงอกขยายออกและหุบเข้าเป็นจังหวะสม่ำเสมอ เป็นผลให้ปอด ซึ่งติดอยู่กับผนังทรวงอกมีการเปลี่ยนแปลงปริมาตรตามไปด้วย


ระบบสืบพันธุ์ ระบบทางเดินอาหาร ระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ

-ระบบสืบพันธุ์

ระบบสืบพันธุ์ุเพศหญิง
     ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง  ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ดังนี้
   1.  รังไข่   ทำหน้าที่ผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งจะกำหนดลักษณะต่างๆในเพศหญิง เช่น ตะโพกผาย เสียงแหลม สำหรับรังไข่จะมี 2 อัน ซึ่งจะอยู่คนละข้างของมดลูกจะมีลักษณะคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ยาวประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร
   2.  ท่อนำไข่  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปีกมดลูก เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูกและเป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่ ท่อนำไข่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 6 - 7 เซนติเมตร
   3.  มดลูก  มีรูปร่างคล้ายผลชมพู่หัวกลับลง กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6 - 8 เซนติเมตร หนาประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ในบริเวณอุ้งกระดูกเชิงกรานระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับทวารหนัก ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วและเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
   4. ช่องคลอด อยู่ต่อจากมดลูกลงมา ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูกและเป็นทางออกของทารกเมื่อครบกำหนดคลอด


ระบบนิเวศ

             ระบบนิเวศ (ecosystem) หมายถึง  ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่อาศัย ณ ที่ใดที่หนึ่ง  ความสัมพันธ์มี  2 ลักษณะ  คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตและระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง โดยมีการถ่ายทอดพลังงานและสารอาหารในบริเวณนั้นๆ สู่สิ่งแวดล้อม

             การศึกษานิเวศวิทยา (ecology) จึงเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยการศึกษาสิ่งมีชีวิตในแหล่งอาศัย รวมถึง การศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่  ความสัมพันธ์ทั้งสองลักษณะนี้ เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน  และเกิดขึ้นพร้อมๆกันต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันไม่สามารถอยู่ได้เพียงลำพังโดยไม่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบต่างๆ  ความสัมพันธ์ภายในระบบนิเวศนั้น  มีความสมดุลอยู่แล้วโดยธรรมชาติ   ยกเว้นว่าจะมีสิ่งใดมารบกวนระบบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆขึ้น  แต่ก็มีการปรับตัวมาเหมือนเดิมได้ใหม่ยกเว้นกรณีที่สิ่งที่มารบกวนนั้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ระบบนั้นก็จะถูกทำลายลงได้

                                        
องค์ประกอบของระบบนิเวศ


รูปที่ 1.1 ความสัมพันธ์ในระบบนิวศ
           ระบบนิเวศบนโลกถึงแม้จะมีความหลากหลาย แต่ก็มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน คือ ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ

                     1. ส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic component ) ประกอบด้วย
                         อนินทรียสาร ได้แก่ ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน น้ำ และคาร์บอน
                         อินทรียสาร ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ฯลฯ
                         สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ แสง ความเป็นกรด เป็นด่าง  ความเค็มและความชื้น

                     2. ส่วนประกอบที่มีชีวิต  (biotic component) ได้แก่
                         ผู้ผลิต (producer)
                         ผู้บริโภค (consumer)
                         ผู้ย่อยสลาย (decomposer)

-ห่วงโซ่อาหาร


 -ห่วงโซ่อาหาร
                 

รูปที่ 1.2 ห่วงโซ่อาหาร

        พลังงานทั้งหลายในระบบนิเวศนี้เกิดจากแสงอาทิตย์ พลังงานแสงถูกถ่ายทอดโดยเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานศักย์  สะสมไว้ในสารอาหาร ซึ่งเกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง แล้วถูกถ่ายทอดไปสู่ผู้บริโภคลำดับต่างๆ ในระบบนิเวศ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อนในรูปแบบที่เรียกว่า สายใยอาหาร  (food web)

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต

             ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

1. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน
2. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน

           เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ  จึงมีการใช้เครื่องหมายต่อไปนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยรวมกัน

+ หมายถึง การได้ประโยชน์จากอีกฝ่ายหนึ่ง
-  หมายถึง การเสียประโยชน์ให้อีกฝ่ายหนึ่ง
0 หมายถึง การไม่ได้ประโยชน์ แต่ก็ไม่เสียประโยชน์ 

-การถ่ายทอดพลังงานในห่วงโซ่อาหาร

-การถ่ายทอดพลังงานในห่วงโซ่อาหาร

               การถ่ายทอดพลังงาน  ในห่วงโซ่อาหารอาจแสดงในในลักษณะของสามเหลี่ยมปิรามิดของสิ่งมีชีวิต (ecological pyramid) แบ่งได้  3 ประเภทตามหน่วยที่ใช้วัดปริมาณของลำดับขั้นในการกิน

1. ปิรามิดจำนวนของสิ่งมีชีวิต (pyramid of number)

        แสดงจำนวนสิ่งมีชีวิตเป็นหน่วยตัวต่อพื้นที่  โดยทั่วไปพีระมิดจะมีฐานกว้างซึ่งหมายถึง  มีจำนวนผู้ผลิตมากที่สุด และจำนวนผู้บริโภคลำดับต่างๆ ลดลงมา

แต่การวัดปริมาณพลังงานโดยวิธีนี้  อาจมีความคลาดเคลื่อนได้เนื่องจากสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์  ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่  เช่นไส้เดือน จะนับเป็นหนึ่งเหมือนกันหมด  แต่ความเป็นจริงนั้นในแง่ปริมาณพลังงานที่ได้รับหรืออาหารที่ผู้บริโภคได้รับจะมากกว่าหลายเท่า   ดังนั้นจึงมีการพัฒนารูปแบบในรูปของปิรามิดมวลของสิ่งมีชีวิต