วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบผิวหนัง ระบบขับถ่าย

-ระบบไหลเวียนโลหิต
มีหน้าที่นำออกซิเจนจากปอดไปสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญอาหารทำให้เกิดพลังงาน คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์จะถูกนำออกนอกร่างกายโดยจะถูกลำเลียง

มายังปอดและส่งออกทางลมหายใจออก
ส่วนประกอบของระบบหายใจ ได้แก่ จมูก หลอดลม ปอด ส่วนประกอบทุกส่วนรวมเข้าด้วยกันเป็นระบบหายใจ จะสามารถแบ่งออกได้เป็นโครงสร้าง 2 ส่วน คือ
          1. ท่อทางเดินอากาศ มีหน้าที่หลักคือ เป็นทางเดินของอากาศจากภายนอกร่างกาย ซึ่งมี O2 สูง เข้าสู่ปอด และนำอากาศจากปอด ซึ่งมี CO2 สูงออกจากปอด การทำงานของส่วนนี้เริ่มจากจมูกสูดอากาศผ่านรูจมูกซึ่งมีขนและเมือกเป็นเครื่องกรองฝุ่นละอองในอากาศ จากนั้นอากาศที่กรองแล้วจะผ่านเข้าสู่โพรงจมูก ซึ่งภายในมีขนเล็กๆ
          2.   ปอด    มีหน้าที่ในการให้พื้นที่จำนวนมากสำหรับการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างอากาศ ใหม่ในถุงลมปอดกับเลือด ซึ่งส่วนสุดท้ายของปอดจะมีถุงเล็กๆ ซึ่งภายในมีเส้นเลือดฝอยไว้สำหรับแลกเปลี่ยน O2 จากลมหายใจเข้ากับ CO2 จากเลือดเสีย O2 จะแพร่เข้าสู่เส้นเลือดฝอย ในขณะที่ CO2 จะย้อนทางเป็นลมหายใจออก ผ่านขั้นปอด หลอดลม โพรงจมูกออกทางรูจมูก การแลกเปลี่ยนแก๊สจะดำเนินต่อไปได้นั้น ความดันย่อยของแก๊ส O2 ในถุงลมปอดจะต้องสูงกว่าความดันย่อยของแก๊ส O2 ในเลือด และความดันย่อยของแก๊ส CO2 ในถุงลมปอดจะต้องต่ำกว่าความดันย่อยของแก๊ส CO2 ในเลือดอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นอากาศใหม่ภายนอกจะต้องถูกนำเข้ามายังปอด และอากาศเสียจากปอดจะต้องถูกนำออกสู่ภายนอก เป็นระยะๆตลอดเวลา ทั้งนี้ก็ด้วยการทำงานของกล้ามเนื้อทรวงอกและกระบังลม ในการทำให้ปริมาตรทรวงอกขยายออกและหุบเข้าเป็นจังหวะสม่ำเสมอ เป็นผลให้ปอด ซึ่งติดอยู่กับผนังทรวงอกมีการเปลี่ยนแปลงปริมาตรตามไปด้วย




-ระบบผิวหนัง

ผิวหนังของคนเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุด ที่ห่อหุ้มร่างกายเอาไว้ ผิวหนังของผู้ใหญ่คนหนึ่ง มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางนิ้ว ผิวหนังตามส่วนต่างๆของร่างกาย จะหนาประมาณ 1-4 มิลลิเมตร แตกต่างกันไปตามอวัยวะ และบริเวณที่ถูกเสียดสี เช่น ผิวหนังที่ศอก และ เข่า จะหนากว่าผิวหนังที่แขนและขา
โครงสร้างของผิวหนัง
      ผิวหนังของคนเราแบ่งออกได้เป็น 2 ชั้น คือ หนังกำพร้าและหนังแท้
1. หนังกำพร้า (Epidermis) เป็นผิวหนังที่อยู่ ชั้นบนสุด มีลักษณะบางมาก ประกอบไปด้วยเชลล์ เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ โดยเริ่มต้นจากเซลล์ชั้นในสุด ติดกับหนังแท้ ขึ่งจะแบ่งตัวเติบโตขึ้นแล้วค่อยๆ เลื่อu มาทดแทนเขลล์ที่อยู่ชั้นบนจนถึงชั้นบนสุด แล้วก็ กลายเป็นขี้ไคลหลุดออกไป
      นอกจากนี้ในชั้นหนังกำพร้ายังมีเซลล์ เรียกว่า เมลานิน ปะปนอยู่ด้วย เมลานินมีมากหรือน้อยขึ้น อยู่กับบุคคลและเชื้อชาติ จึงทำให้สีผิวของคนแตกต่าง กันไป ในชั้นของหนังกำพร้าไม่มีหลอดเลือด เส้น ประสาท และต่อมต่างๆ นอกจากเป็นทางผ่านของรูเหงื่อ เส้นขน และไขมันเท่านั้น
2.หนังแท้ (Dermis) เป็นผิวหนังที่อยู่ชั้นล่าง ถัดจากหนังกำพร้า และหนากว่าหนังกำพร้ามาก ผิว หนังชั้นนี้ประกอบไปด้วยเนี้อเยื่อคอลลาเจน (Collagen) และอีลาสติน (Elastin) หลอดเลือดฝอย เส้นประสาท กล้ามเนื้อเกาะเส้นขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และขุม ขนกระจายอยู่ทั่วไป
หน้าที่ของผิวหนัง
      1. ป้องกันและปกปิดอวัยวะภายในไม่ให้ได้รับ อันตราย
      2. ป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกายโดยง่าย
      3. ขับของเสียออกจากร่างกาย โดยต่อมเหงื่อ ขับเหงื่อออกมา
      4. ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดย ระบบหลอดเลือดฝอยและการระเหยของเหงื่อ
      5. รับความรู้สึกสัมผัส เช่น ร้อนหนาว เจ็บ ฯลฯ
      6. ช่วยสร้างวิตามินดีให้แก่ร่างกาย โดยแสง แดดจะเปลี่ยนไขมันชนิดหนึ่งที่ผิวหนังให้เป็นวิตามินดีได้
      7. ขับไขมันออกมาหล่อเลี้ยงเส้นผม และขน ให้เป็นเงางามอยู่เสมอและไม่แห้ง
การดูแลรักษาผิวหนัง
      ทุกครย่อมมีความต้องการมีผิวหนังที่สวยงาม สะอาด ไม่เป็นโรคและไม่เหี่ยวย่นเกินกว่าวัย ฉะนั้นจึงควรดูแลรักษาผิวหนังตัวเอง ดังนี้
      1. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ โดย
        1.1 อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในเวลาเช้าและเย็น เพื่อช่วยชำระล้างคราบเหงื่อไคล และความสกปรกออกไป
        1.2 ฟอกตัวด้วยสบู่ที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ
        1.3 ทำความสะอาดให้ทั่ว โดยเฉพาะบริเวณใต้รักแร้ ขาหนีบ ข้อพับ อวัยวะเพศ ง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า ใต้คาง และหลังใบหู เพราะเป็นที่อับและเก็บความชื้น อยู่ได้นาน
        1.4 ในขณะอาบน้ำ ควรใช้นิ้วมือ หรือฝ่ามือ ถูตัวแรงๆ เพราะนอกจากช่วยให้ร่างกายสะอาดแล้ว ยังช่วยให้การหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น
        1.5 เมี่ออาบน้าเสร็จ ควรใช้ผ้าเช็ดตัวที่ สะอาด เช็ดตัวให้แห้ง แล้วจึงค่อยสวมเสื้อผ้า
      2. หลังอาบน้ำแล้ว ควรใส่เสื้อผ้าที่สะอาด และเหมาะสมกับอากาศและงานที่ปฏิบัติ เช่น ถ้าอากาศ ร้อนก็ควรใส่เสื้อผ้าบาง เพื่อไม่ให้เหงื่อออกมาก เป็นต้น
      3. กินอาหารให้ถูกต้องและครบถ้วนตามหลัก โภชนาการ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินเอ เช่น พวก น้ำมันตับปลา ตับสัตว์ เนย นม ไข่แดง เครื่องในสัตว์ มะเขือเทศ มะละกอ รวมทั้งพืชใบเขียวและใบเหลือง วิตามินเอ จะช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น ไม่เป็นสะเก็ด แห้ง ทำให้เล็บไม่เปราะ และยังทำให้เส้นผมไม่ร่วงง่ายอีกด้วย
      4. ดื่มน้ำมากๆ เพื่อทำให้ผิวหนังเปล่งปลั่ง
      5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้การ หมุนเวียนของเลือดดีขึ้u
      6. ควรให้ผิวหนังได้รับแสงแดดสม่ำเสมอ โดย เฉพาะเวลาเช้าซึ่งแดดไม่จัดเกินไป และพยายามหลีก เลี่ยงการถูกแสงแดดจ้า เพราะจะทำให้ผิวหนังเกรียม และกร้านดำ
      7.ระมัดระวังโนการใช้เครื่องสำอาง เพราะ อาจเกิดอาการแพ้ หรือทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็น อันตรายต่อผิวหนังได้ หากเกิดอาการแพ้ต้องเลิกใช้ เครื่องสำอางชนิดนั้นทันที
      8.เมื่อมีสิ่งผิดปกติใดๆเกิดขึ้นกับผิวหนังควรปรึกษาแพทย์




-ระบบขับถ่าย
ร่างกายของเราต้องใช้พลังงานจึงจะทำงานได้เรียบร้อยเช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิง  แล้วเปลี่ยนให้เป็นพลังงานอาหารคือเชื้อเพลิงหลักของเรา มัน "เผาไหม้" ในเซลล์ร่างกายเพื่อสร้างพลังงานเหมือนกับ โรงไฟฟ้าที่ร่างกายของเราก็ผลิตกากของเสียด้วย  ของเสียเหล่านี้จำเป็นต้องขับออกไปเพื่อเราจะได้มีพลานามัยที่ดีมี กากของเสียแบบต่าง ๆ อยู่เช่น เป็นแก๊ส ของเหลวของแข็ง ร่างกายของเรามีอวัยวะที่จะกำจัดมันได้หมด  ซึ่งเรียกว่าอวัยวะ เพื่อการขับถ่าย (ขับถ่ายเป็นคำที่ใช้บรรยายถึงวิธีที่ร่างกายของเรากำจัดกากของเสีย) อวัยวะในการใช้ขับถ่ายของเรา คือ

อวัยวะ
หน้าที่ในระบบขับถ่าย
ลำไส้
ซึ่งขับกากที่เป็นของแข็งจากอาหารออกทางทวารหนัก
ปอด
ซึ่งขับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด
ผิวหนัง
ซึ่งขับน้ำและเกลือออกในรูปของเหงื่อ
ไต
ซึ่งขับปัสสาวะ

 ข้างในไตแต่ละข้างมี "ไตขนาดจิ๋ว" ที่เรียกว่าเนฟรอนอยู่ประมาณหนึ่งล้านหน่วย มันมีหน้าที่สำคัญในการทำความสะอาดเลือด และตั้งอยู่ในส่วนของไตที่เรียกว่า  ชั้นนอกของไต ไตขนาดจิ๋วประกอบด้วยสองส่วนที่สำคัญคือ หน่วยกรองและหลอดทิวบูล หน่วยกรอง นั้นตั้งอยู่ภายใน "ถ้วย" ซึ่งเรียกว่าถุงหุ้มโบว์แมน ถุงหุ้มโบว์แมนและ  หน่วยกรองประกอบขึ้นเป็นตัวมาลปิเกียน ทิวบูลนั้นเป็นหลอดยาวที่เลี้ยวลดคดเคี้ยว เราจะตามดูเลือดสักหยดหนึ่งที่เดินทางผ่านเข้ามาทางไตขนาดจิ๋วนี้สักหน่อย  เลือดนั้นมาถึงหน่วยกรองหรือขดเส้นเลือดฝอย ในหลอดเลือดเล็ก ๆ ขดเส้นเลือดฝอยนี้ เป็นหลอดพิเศษที่ทำหน้าที่เหมือนเครื่องกรอง  มันจะยอมให้ส่วนที่เป็นของเหลวในเลือดเท่านั้น ที่จะผ่านไปในทิวบูลได้ แล้วของเหลวนั้นก็ไหลผ่านทิวบูลเข้าไปในห่วงเฮนเล่ซึ่ง  ยาวเหยียดตั้งแต่ชั้นนอกของไตไปถึงชั้นในของไตที่เรียกว่า เมดัลล่า ของเหลวเกือบทั้งหมด  จะถูกดูดซึมกลับอีกครั้งเข้าไปในกระแสเลือดผ่านหลอดเลือดฝอยหน่วยงานเหล่านี้ห่อหุ้ม อยู่โดยรอบทิวบูลและห่วงเฮนเล่ มีเพียงกากและน้ำเท่านั้นที่เหลืออยู่ในทิวบูล  หลอดทิวบูลที่เหยียดตรงซึ่งเป็นตัวรวบรวมจะพากากของเสียไปสู่กรวยไต


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น