วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ระบบสืบพันธุ์ ระบบทางเดินอาหาร ระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ

-ระบบสืบพันธุ์

ระบบสืบพันธุ์ุเพศหญิง
     ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง  ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ดังนี้
   1.  รังไข่   ทำหน้าที่ผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งจะกำหนดลักษณะต่างๆในเพศหญิง เช่น ตะโพกผาย เสียงแหลม สำหรับรังไข่จะมี 2 อัน ซึ่งจะอยู่คนละข้างของมดลูกจะมีลักษณะคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ยาวประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร
   2.  ท่อนำไข่  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปีกมดลูก เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูกและเป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่ ท่อนำไข่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 6 - 7 เซนติเมตร
   3.  มดลูก  มีรูปร่างคล้ายผลชมพู่หัวกลับลง กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6 - 8 เซนติเมตร หนาประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ในบริเวณอุ้งกระดูกเชิงกรานระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับทวารหนัก ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วและเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
   4. ช่องคลอด อยู่ต่อจากมดลูกลงมา ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูกและเป็นทางออกของทารกเมื่อครบกำหนดคลอด





ระบบสืบพันธุ์ุเพศชาย
     ระบบสืบพันธุ์เพศชายประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ดังนี้
1. อัณฑะ (Testis) และถุงอัณฑะ (Scrotum)
     อัณฑะ มีลักษณะรูปร่างคล้ายไข่ฟองเล็ก ยาว 3-4 Cm หนาประมาณ 2-3 Cm หนักประมาณ 50 กรัม อัณฑะมี 2 ข้างและขนาดใกล้เคียงกันอยู่ภายในถุงอัณฑะ ซึ่งทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิภายในถุงอัณฑะให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของอสุจิ คือ ประมาณ 34 องศาเซลเซียส ภายในอัณฑะประกอบด้วยหลอดสร้างตัวอสุจิ มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆขดเรียงกันอยู่มากมาย เพื่อทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (Sperm) นอกจากนั้นยังมีเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย เช่น เสียงห้าว มีหนวดเครา
2. หลอดเก็บตัวอสุจิ
    เป็นที่พักของตัวอสุจิที่สร้างจากหลอดสร้างตัวอสุจิจะอยู่บริเวณด้านบนของอัณฑะต่อเชื่อมกับหลอดนำตัวอสุจิ
3. หลอดนำตัวอสุจิ
    อยู่ต่อจากหลอดเก็บอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
4. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ(seminal vesicle)
    อยู่ต่อจากหลอดนำตัวอสุจิ ทำหน้าที่สร้างอาหารให้แก่ตัวอสุจิ ส่วนมากเป็นน้ำตาลฟรักโตส และสารประกอบอื่นๆที่ทำให้เกิดสภาพที่เหมาะกับตัวอสุจิ
5. ต่อมลูกหมาก(prostate gland)
    อยู่บริเวณตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารบางชนิดที่เป็นเบสอย่างอ่อน เข้าไปในท่อปัสสาวะปนกับน้ำเลี้ยงอสุจิ และสารที่ทำให้ตัวอสุจิแข็งแรงและว่องไว
6. ต่อมคาวเปอร์(cowper gland)
    มีหน้าที่หลั่งสารของเหลวใสๆไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะเกิดการกระตุ้นทางเพศ
7. อวัยวะเพศชาย(pennis) เป็นกล้ามเนื้อที่หดและพองตัวได้คล้ายฟองน้ำในวลาปกติจะอ่อนและงอตัวอยู่ แต่เมื่อถูกกระตุ้นจะเเข็งตัวเพราะมีเลือดมาคั่งมาก ภายในจะมีท่อปัสสาวะทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิและน้ำปัสสาวะ



-ระบบทางเดินอาหาร
  • ปาก( Mouth)( ในช่องปากมีอวัยวะดังนี้
    • ต่อมน้ำลาย ( salivary glands)
    • เยื้อบุช่องปาก ( mucosa)
    • ฟัน ( teeth)
    • ลิ้น ( tongue))
  • คอหอย ( Pharynx)
  • หลอดอาหาร ( Esophagus) และ คาร์เดีย ( cardia)
  • กระเพาะอาหาร ( Stomach) ประกอบด้วย
    • แอนทรัม ( antrum)
    • ไพโลรัส ( pylorus)
    • ไพโลริก สฟิงเตอร์ ( pyloric sphincter)
  • ลำไส้( intestine หรือ Bowel):
    • ลำไส้เล็ก ( small intestine) มีสามส่วนดังนี้:
      • ดูโอดีนัม ( duodenum)
      • เจจูนัม ( jejunum)
      • ไอเลียม ( ileum)
    • ลำไส้ใหญ่ ( large intestine) มีสามส่วนดังนี้:
      • ซีคุม ( cecum)(เป็นที่อยู่ของ ไส้ติ้ง ( vermiform appendix))
      • โคลอน ( colon) ประกอบด้วย
        • แอสเซนดิ่ง โคลอน ( ascending colon)
        • ทรานเวอร์ส โคลอน ( transverse colon)
        • ดีเซนดิ่ง โคลอน ( descending colon)
        • ซิกมอยด์ ฟลีเจอร์ ( sigmoid flexure))
      • เรคตัม ( rectum)
  • ทวารหนัก ( anus)


-ระบบกระดูก
 Skeleton หมายถึงส่วนของโครงสร้างที่เป็นของแข็ง ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันเนื้อเยื่ออ่อนๆ (soft tissue) ของร่างกายสัตว์ประกอบด้วย bone, cartilage และ ligament
  ความสำคัญของ skeletal system คือเป็นส่วนหนึ่งหรือองค์ประกอบที่อยู่ใน locomotor apparatus ( ส่วนประกอบที่ใช้ช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกายซึ่งก็คือ อวัยวะส่วนที่ประกอบกันเป็นตัวสัตว์เป็นโครงสร้าง ของร่างกายและทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
     โครงสร้างของกระดูก
กระดูกมีลักษณะแห้งเมื่อพิจาณาที่เนื้อกระดูกจะเห็นว่ามีส่วนที่แตกต่าง ชัดเจนอยู่สองจุด จุดแรก มีลักษณะ แน่น เรียกว่า Compact bone ส่วนที่สองมีเนื้อ ที่เป็นรูพรุน เรียกว่า Spongy bone
ในส่วนของ Compact bone จะมีความหนาในบริเวณส่วนลำตัวของกระดูก เช่น long bone ยกตัวอย่าง เช่น ในพวก สุนัขพันธุ์ เกรทเดน จะมีความหนาของ กระดูก Femur ถึง 3 มม . การเจริญของกระดูกนี้ มีความเกี่ยวเนื่องกับ แรงที่กด ถ้ามีแรงกดมาก ความหนาของกระดูกก็จะเพิ่มตามไปด้วย
Spony bone เป็นโครงสร้างที่แทรกอยู่ที่ส่วนปลายของกระดูก ประเภท long bone หรือแทรกอยู่ ในเนื้อกระดูก ประเภท flat bone ลักษณะของ Spnogy bone จะเป็นโครงตาข่าย สานเป็นร่างแหไปมา เมื่อพิจารณา ส่วนเล็กๆ จะพบว่ามีลักษณะเป็น หนามแหลมๆ สั้นๆ โครงสร้างเหล่านี้ จะทำหน้าที่ในการ ช่วยกระจายแรง ในการรับ น้ำหนัก ในการผ่าตัดเกี่ยวกับกระดูกจะต้องคำนึงถึงการกระจาย การรับน้ำหนัก เหล่านี้ด้วย
โครงสร้างกระดูกต้นขาหน้าผ่าตามขวางและตามยาว
  • Proximal epiphysis ส่วนต้นสุดของแท่งกระดูกเป็น compact bone
  • Proximal epiphyseal plate เป็นส่วนของเนื้อกระดูกที่ยังไม่สมบูรณ์ ( เป็นกระดูกอ่อน ) บริเวณต่อมาจาก Proximal metaphysis เห็นได้ชัดเจนในสัตว์อายุน้อยเมื่อมองด้วยภาพรังสี
  • Proximal metaphysis ส่วนต้นของลำตัวกระดูก
  • Diaphysis ลำตัวกระดูกภายในมีช่องไขกระดูก
  • Distal metaphysis ส่วนปลายของลำตัวกระดูก
  • Distal epiphyseal plate เป็นส่วนของเนื้อกระดูกที่ยังไม่สมบูรณ์ ( เป็นกระดูกอ่อน ) บริเวณต่อมาจาก Distal metaphysis เห็นได้ชัดเจนในสัตว์อายุน้อยเมื่อมองด้วยภาพรังสี
  • Distal epiphysis ส่วนปลายสุดของแท่งกระดูกเป็น compact bone
  • Periosteum เนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของเนื้อเยื่อกระดูกที่ติดกับส่วนของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ
  • Endosteum เนื้อเยื่อชั้นในสุดของเนื้อเยื่อกระดูกที่ติดกับไขกระดูก
  • Medullary cavity ช่องไขกระดูกซึ่งบรรจุไขกระดูก ( Bone marrow) อยู่ภายใน
  • Compact bone ส่วนของเนื้อเยื่อกระดูกที่ลักษณะแข็ง
  • Spongy bone ส่วนของเนื้อเยื่อกระดูกรูพรุนที่เบา
  • Articular cartilage ส่วนที่เป็นจุดเชื่อมต่อกับกระดูกชิ้นอื่น บริเวณข้อต่อซึ่งเป็นส่วนของกระดูกอ่อน ( cartilage )
  • ประโยชน์และหน้าที่ของกระดูก
หน้าที่ของกระดูกที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย (Functions of bone) มีดังนี้
    • เป็นที่เกาะยึดของกล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้อวางตัวอยู่อย่างแข็งแรง
    • มีส่วนช่วยในการป้องกันอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ (heart), ปอด (lung), สมอง (brain) ไม่ให้ได้รับอันตรายหรือไม่ให้กระทบกระเทือน
    • สร้าง cell เม็ดเลือดพวกเม็ดเลือดแดง ( rbc ) , เม็ดเลือดขาว ( wbc ) , เกล็ดเลือด ( platelet )
    • ช่วยในการเคลื่อนไหวและการหายใจเข้าและออก เช่น กระดูกซี่โครง ( ribs )
    • รักษาระดับสมดุลแคลเซี่ยม ( calcium ) ในเลือด


-ระบบกล้ามเนื้อ
ประกอบด้วยเนื้อหาหลักดังนี้
ความสำคัญของกล้ามเนื้อ (The Muscle)
องค์รวมของกล้ามเนื้อที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย (The Organization of skeletal muscle)
ความผันแปรของกล้ามเนื้อ (Variation in muscle architecture)
เอ็นกล้ามเนื้อ (Tendon)
เส้นเลือดเส้นประสาทที่มาควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ (Blood and Nerve Supply of muscles)
การทำงานของกล้ามเนื้อ (Muscle Actions)
การศึกษาเรื่องกล้ามเนื้อทางกายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์แบ่งเป็นส่วนดังนี้
I. กล้ามเนื้อบริเวณลำตัวสัตว์ (The Muscle of the Trunk)
II. กล้ามเนื้อบริเวณหัวและด้านล่างของลำคอสัตว์ (The Muscles of the Head and Ventral part of the Neck
III. กล้ามเนื้อบริเวณระยางค์ขาหน้า (The Muscle of the Forelimb)
IV. กล้ามเนื้อบริเวณระยางค์ขาหลัง (The Muscles of the Hindlimb)
การทำงานของกล้ามเนื้อ (Muscle Actions)
เมื่อกล้ามเนื้อทำงานพบว่าใยของกล้ามเนื้อจะสั้นหรือหดลงและเมื่อมันสั้นลงก็จะส่งผลให้มีแรงตึงมากขึ้น ในทางกลับกันแรงตึงก็จะลดลงถ้ากล้ามเนื้อหย่อนยาน โดยการทำงานของกล้ามเนื้อจะสมดุลได้ดีนั้นต้องมีลักษณะที่เรียกว่า แรงดึงสมดุล(isometric) ซึ่งเมื่อกล้ามเนื้อยืดหรือหดตัวก็จะคอยรักษาสมดุลป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อมีความตึงมากไป หรือก็คือการทำให้กลับสู่ภาวะปกตินั่นเอง
การทำงานของกล้ามเนื้อส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงมุมกับข้อต่อของร่างกาย ( ดูรูปที่ 2 ) อาจจะเป็นเพียงข้อต่อเดียวหรือมากกว่า โดยการทำงานของกล้ามเนื้อจะสัมพันธ์กับกระดูกและข้อต่อเป็นหลัก (musculoskeletal system)
กล้ามเนื้อแต่ละมัดที่วางตัวอยู่บนร่างกายจะทำงานในลักษณะที่เฉพาะเจาะจงกับข้อต่อนั้นๆ เช่น ข้อต่อบริเวณข้อศอกของขาหน้าพบว่าการทำงานส่วนใหญ่เป็นแบบงอข้อต่อ (flexion) ก็จะเรียกกล้ามเนื้อที่ทำงานในการงอข้อต่อบริเวณนี้ว่า agonistหรือ prime mover และในทางตรงกันข้ามกล้ามเนื้อที่ทำงานในลักษณะตรงข้ามก็จะเรียกว่า antagonist ซึ่งถ้าบริเวณข้อศอกก็คือการเหยียด (extension) นั่นเอง
กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่แบบเดียวกันในบริเวณเดียวกันเราจะเรียกลักษณะนี้ว่า synergists กันส่วนกล้ามเนื้อที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมให้ข้อต่อมีความคงตัว (stabilize) เราจะเรียกลักษณะนี้ว่าเป็นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เป็นตัว fixators  
กล้ามเนื้อแต่ละมัดจะมี จุดตั้งต้น (origin) และ จุดสิ้นสุดหรือจุดเกาะ (insertion) โดยการดูว่าจุดปลายของกล้ามเนื้อด้านไหนเป็นจุดตั้งต้นให้สังเกตจาก ลักษณะตำแหน่งที่อยู่ว่ามักจะมีความใกล้กับแกนกลางของร่างกายมากกว่าควบคู่ไปกับการเคลื่อนไหวน้อยกว่า ส่วนจุดสิ้นสุดให้สังเกตว่ามักจะอยู่ไกลออกจากแกนกลางลำตัวมากกว่าหรือมีการเคลื่อนไหวมากกว่า ซึ่งถ้ายังแยกไม่ได้ให้ดูจากหน้าที่การทำงานว่ามีการหดตัว (contractions) ไปในทิศทางใด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น